12 พฤศจิกายน 2024

ลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์มุ่งมั่นช่วยชะลออุณหภูมิโลก

ท่ามกลางสภาพภูมิอากาศโลกที่แปรปรวน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG emission) ร้อยละ 20 ภายในปี 2573 จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและเป็นเป้าหมายที่เราต้องไปให้ถึง นำมาซึ่งนโยบายที่ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันโดยเฉพาะด้านกระบวนการผลิตที่ต้องมีการบริหารจัดการที่รอบคอบ รับผิดชอบชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วยการลงมือทำจริง ไปจนถึงรายละเอียดเล็ก ๆ เพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน

สำหรับ ‘ก๊าซเรือนกระจก’ และ ‘คาร์บอนฟุตพริ้นท์’ คำ 2 คำนี้เกี่ยวข้องและต่างกันอย่างไร สามารถอธิบายได้ว่า ‘ก๊าซเรือนกระจก’ คือก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศ มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากหลากหลายกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการเผาไหม้เชื้อเพลิง ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนที่เพิ่มความรุนแรงจนก้าวสู่ภาวะโลกเดือด ทำให้เกิด ‘คาร์บอนฟุตพริ้นท์’ หรือรอยเท้าที่ทิ้งไว้จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเป็นผลลัพธ์ที่ตามมา

การลดปริมาณ ‘คาร์บอนฟุตพริ้นท์’ จึงเท่ากับการมุ่งมั่นลดการปล่อย ‘ก๊าซเรือนกระจก’ ที่ต้องวางแผนดำเนินการตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งที่ NEO เรามีตัวอย่างที่สะท้อนถึงการลงมือทำจริง

1. การเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน : ด้วยนโยบายการควบคุมทางเลือกพลังงานสะอาดของเรา ช่วยส่งเสริมความเป็นอิสระด้านพลังงานที่นำมาใช้ในองค์กร นำไปสู่การเพิ่มสัดส่วนการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ผ่านการติดตั้ง Solar Rooftop ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเรายังได้ติดตั้ง Solar Rooftop เพิ่มเติมอีกในปี 2024 ซึ่งทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนได้มากยิ่งขึ้นก่อนที่จะก้าวไปสู่ความท้าทายต่อไป

2. การลงทุนในเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน : ที่ NEO เราเล็งเห็นว่าการลงทุนในโซลูชันที่เป็นนวัตกรรม สามารถลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนดำเนินงาน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในโลกที่มีทรัพยากรจำกัดได้ เราจึงนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานมาใช้ เช่น การติดตั้ง Power Meter ในอาคารผลิต อาคาร Utility รวมถึงอาคารสำนักงาน เพื่อติดตามข้อมูลแบบเรียลไทม์ การนำระบบ Solar Collector มาใช้ในการอุ่นน้ำก่อนเข้าระบบ Boiler และอีกหลายเทคโนโลยี

3. การใช้เทคโนโลยีกระบวนการเย็น (Cold Process) ช่วยลดการใช้พลังงาน : ในขั้นตอนการผลิต การลดการใช้ความร้อนให้เหลือน้อยที่สุด สามารถช่วยลดการใช้พลังงานได้อีกหนึ่งวิธี หนึ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นในเรื่องนี้ คือ ผลิตภัณฑ์แบรนด์ D-nee ที่ได้ใช้วิธีการทำให้ส่วนผสมต่างๆ รวมเป็นเนื้อเดียวกันโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความร้อน (Cold Process) ช่วยทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตลดลง นำไปสู่การลดการใช้พลังงานและคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตได้จริง

4. การพัฒนาให้บรรจุภัณฑ์สามารถนำไปรีไซเคิลได้มากขึ้น : เป็นหนึ่งนโยบายสำคัญที่แสดงความรับผิดชอบของธุรกิจผู้ผลิตสินค้า FMCG เพราะเมื่อบรรจุภัณฑ์ที่เหลือจากการใช้งานแล้วสามารถนำไปแยกชิ้นส่วนเพื่อเข้ากระบวนการรีไซเคิลหรือใช้ประโยชน์ในด้านอื่นได้ จะเป็นการช่วยลดการกำจัดขยะด้วยการฝังกลบ และเป็นการช่วยลดการเผาทิ้งที่จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกโดยตรง โดยเรามีแนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้นำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น  เช่น การลดการใช้สีในบรรจุภัณฑ์ซึ่งคงความบริสุทธิ์ของวัสดุไว้ ไปจนถึงการใส่รอยปรุให้ฉีกฉลากออกได้ง่ายเพื่อสะดวกในขั้นตอนการคัดแยกก่อนการรีไซเคิล

5. การสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยก๊าซคาร์บอนกับมาตรการชดเชยคาร์บอน : เรามีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) เพื่อระบุแหล่งปล่อยก๊าซที่สำคัญต่อองค์กรและดำเนินการกำหนดแผนลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม ศึกษาแนวทางชดเชยคาร์บอนร่วมกับหน่วยงานภายนอก ทั้งหน่วยงานอุดมศึกษา ภาครัฐ และภาคเอกชน หาแนวทางชดเชยที่เหมาะสมทั้งต่อองค์กรและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนรอบพื้นที่

สำหรับการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ข้อมูลที่ได้เราได้จะถูกนำมากำหนดเป็นพื้นฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อกำหนดแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายปีโดยได้มีการกำหนดให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 3% ในแต่ละปี เช่น ในปี 2024 บริษัทมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 3%  โดยมีการกำหนดแนวทางและเป้าหมายของแต่ละส่วนงานร่วมกัน เช่น การกำหนดเป้าหมายลด Power Intensity โดยตั้งเป้าลดลงจากปี 2023 ให้ได้ 3% หรือการกำหนดเป้าหมายเพิ่ม Production Intensity ให้ได้ 3% ลงจากปี 2023 นอกจากนี้ในทุกๆ ปี เรายังมีการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อย ‘ก๊าซเรือนกระจก’ และลดปริมาณ ‘คาร์บอนฟุตพริ้นท์’ มุ่งมั่นช่วยชะลออุณหภูมิโลกของ NEO

For the best experience, we recommend viewing the site in portrait orientation on mobile devices.